facebook

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

นิราศ 9 เรื่อง ของสุนทรภู่

นิราศ 9 เรื่อง ของสุนทรภู่
               
ภาพที่ 1 สุนทรภู่
                                                   

     นิราศเมืองแกลง          
นิราศเมืองแกลงเป็นนิราศคำกลอนเรื่องแรกของสุนทรภู่ มีความยาว
248 บท เล่าเรื่องการเดินทางไปหาบิดาที่วัดป่า ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อกลางเดือน 7 พ.ศ. 2350 สุนทรภู่แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่ออายุย่าง  22 ปี ขณะนั้นยังเป็นโสดแต่ลอบรักอยู่กับแม่จัน  เมื่อความทราบถึงกรมพระราชวังหลังจึงถูกลงโทษจำคุกทั้งสองคน เมื่อพ้นโทษสุนทรภู่ออกเดินทางไปเยี่ยมบิดาที่บวชอยู่ที่เมืองแกลง และอาจตั้งใจที่จะบวชด้วยเพราะอายุครบบวชอีกทั้งเป็นการล้างอัปมงคลที่ถูกจองจำแต่บังเอิญป่วย


ภาพที่ 2 อนุสาวรีย์สุนทรภู่
     นิราศพระบาท เนื้อหากล่าวถึงการเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีและมีบทรำพันถึงนางอันเป็นที่รักตามขนบวรรณคดีนิราศ โคลงนิราศพระพุทธบาทเรื่องเริ่มด้วยคำรำพันถึงหญิงคนรักแล้วเล่าการเดินทางผ่านวัดตองปุซึ่งมีชาวมอญอาศัยอยู่จำนวนมาก  ผ่านบ้านกระทุ่ม  หนองคนที  บางโขมด  และบ้านแม่ลา  ตอนท้ายกวีกล่าวถึงคุณสมบัติ 3 ประการที่สตรีใช้พิฆาตบุรุษคือดวงเนตร  เสียงเสนาะ และรูปโฉมว่าเหมือนศร 3 เล่มที่พระรามแผลงไปสังหารอสูร
     นิราศภูเขาทอง          
นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดี
ประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า(จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ.2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ
     นิราศเมืองเพชร           
เป็นนิราศที่เป็นปริศนา สำหรับนักศึกษางานของท่านสุนทรภู่ ด้วยไม่ทราบว่าท่านแต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อใด และท่านไปเมืองเพชรด้วยเหตุใด สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีความเห็นว่า ท่านสุนทรภู่แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อครั้งกลับเข้ารับราชการ อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านน่าจะออกเดินทางในหน้าหนาว ปีพ.ศ.2388 โดยอาสาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้ามานั่นเอง และนิราศเรื่องนี้คงเป็นเรื่องสุดท้ายของท่าน
     นิราศวัดเจ้าฟ้า          
นิราศวัดเจ้าฟ้า
 เป็นนิราศคำกลอนที่มีรู้จักกันดีเรื่องหนึ่ง เนื้อเรื่องกล่าวว่า เณรหนูพัด(บุตรคนโตของสุนทรภู่) เป็นผู้แต่ง แต่เชื่อกันว่าที่จริงแต่งโดยสุนทรภู่นั่นเอง เนื่องจากขณะนั้นสุนทรภู่อยู่ในสมณเพศ จึงต้องระมัดระวังตัวมาก การแต่งในนามของเณรหนูพัดทำให้สามารถออกกระบวนกลอนและแสดงความคิดเห็นได้รสชาติมากกว่า การเดินทางในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อไปค้นหาพระปรอท
     นิราศอิเหนา          
นิราศอิเหนา
 สันนิษฐานจากสำนวนกลอนคาดว่าน่าจะประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งที่สุนทรภู่อยู่ในอุปการะของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจึงน่าจะแต่งถวายเนื้อหาของกลอนนิราศนำมาจากส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา โดยจับใจความตอนที่อิเหนากลับจากไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา แล้วพบว่านางบุษบาที่ตนลักตัวมาซ่อนไว้ที่ถ้ำทอง ถูกลมพายุพัดหายไปเสียแล้วเนื้อหาของกลอนนิราศเป็นการเดินทางติดตามค้นหานางบุษบาของอิเหนา ระหว่างทางก็พร่ำรำพันถึงนางผู้เป็นที่รัก อิเหนาตามหานางบุษบาอยู่เจ็ดเดือนก็หาไม่พบ เนื้อเรื่องจบลงที่อิเหนาและไพร่พลออกบวชอุทิศกุศลให้นางบุษบา ซึ่งอิเหนาคิดว่าคงจะตายไปแล้ว
     นิราศสุพรรณ      
นิราศสุพรรณ
เป็นนิราศรื่องแรกและเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพเข้าใจว่าต้องการลบคำสบประมาทว่าตนแต่งได้แต่เพียงกลอน เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณในปี พ.ศ.2374 ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ แล้วออกเดินทางไปยังเมืองสุพรรณเพื่อค้นหายาอายุวัฒนะ การเดินทางของสุนทรภู่ครั้งนี้หนักหนาแทบเอาชีวิตไม่รอด สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรกลับมา
     รำพันพิลาป          
รำพันพิลาปมีเนื้อความเล่าเรื่องราวความหลังอันระทมทุกข์ของสุนทรภู่ นับตั้งแต่ออกจากราชการตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่
3 ในปีพ.ศ. 2367 จนได้มาอยู่วัดเทพธิดารามซึ่งขณะนั้นพระภู่ประสบกับความทุกข์ยากต่าง ๆ นานา เช่น อัตคัดขัดสนเรื่องข้าวของเครื่องใช้  มีแต่เสื่อขาด ๆ  และไม่มีมุ้งกันยุงและขาดไฟที่เคยมีใช้ในเวลาค่ำคืน  นอกจากนี้ยังมีศัตรูทั้งในวังและในวัด  ด้วยความลำบากดังกล่าวพระภู่จึงคิดที่จะออกเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อแสวงหาแร่ปรอทที่สามารถแปรให้เป็นทองได้ จะได้มั่งมีเงินทอง ต่อมาพระภู่ตั้งจิตปรารถนาที่จะหลับและฝันไป  ทั้งขอให้ความฝันดังกล่าวช่วยบอกเหตุดีร้ายให้แก่พระภู่ด้วย 
               หลังจากนั้นก็กล่าวเรื่องราวตามความฝันว่าพระภู่ว่ายน้ำอย่างเดียวดายในท้องทะเล  แล้วมี “นารีรุ่น” ช่วยพาพระภู่มาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ได้พบนางฟ้าหลายองค์  นางฟ้าที่สวยที่สุดทรงมงกุฎ พระธิดาได้นิมนต์พระภู่ให้ไปอยู่ยังสวรรค์ หลังจากนั้นนางฟ้าเหล่านั้นก็เหาะลอยหายลับไป ทำให้พระภู่เศร้าใจที่ไม่อาจติดตามนางไปได้  ขณะนั้นมี “นางเมขลา” ถือดวงแก้วมาหาพระภู่  และรับปากกับพระภู่ว่าจะช่วยให้สมหวัง  ต่อมาพระภู่ตื่นจากฝันและสงสัยว่านางฟ้าที่มาเข้าฝันคือใคร  ต่อจากนั้นก็เป็นการรำพันถึงวัตถุและสถานที่ในวัดเทพธิดารามด้วยความอาลัย  
     นิราศพระประธม          
นิราศพระประธม
เริ่มบทนิราศด้วยการครวญถึงนางที่ต้องห่างไกลกัน แล้วจึงบรรยายและพรรณนาการเดินทางเพื่อไปนมัสการพระประธม(พระปฐมเจดีย์) และพระประโทน โคลงนิราศเรื่องนี้มีความเด่นด้านวรรณศิลป์ ทั้งยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นแหล่งข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ท้องถิ่น ตำนานสถานที่ ภาษา วรรณคดี วิถีชีวิต  ความคิดความเชื่อ ซึ่งกวีถ่ายทอดเรื่องราวที่พบเห็นตามรายทาง  ได้สัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนกับการแสดงความรู้สึกนึกคิด เชื่อมโยงกับการรำพันถึงนางผู้เป็นที่รัก

อ้างอิง
นามานุกรมวรรณคดีไทย.  นิราศเมืองแกลง. ค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561.  
นามานุกรมวรรณคดีไทย.  นิราศพระบาทค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561.
       จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=378
นิราศภูเขาทองค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561จาก       https://krusuriyapasathai.wordpress.com/2015/07/14/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/
นิราศเมืองเพชร.  ค้นเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2561. จาก http://www.toursabuy.com/soontornpoo/petch.asp
นามานุกรมวรรณคดีไทย.  รำพันพิลาปค้นเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2561.
       จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=214
นามานุกรมวรรณคดีไทย. นิราศพระประธมค้นเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2561.
       จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=140
 ผลงานสุนทรภู่ค้นเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2561.
          จาก https://www.thai-tour.com/thai-tour/east/rayong/data/soontornphu1.htm
   



         


1 ความคิดเห็น:

  1. ผู้เขียนชื่ออะไรคะพี่คือหนูต้องเอามาเขียนในสมุดค่ะอยากทราบชื่อผู้เขียน😢

    ตอบลบ